60086.jpg

วันที่ 23 ม.ค.67 เวลา 08.30-16.30 น.
น.ส.เนตร์นภา อินต๊ะเป็ง พนักงานวิชาการเงินและบัญชี ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วม โครงการขับเคลื่อนภารกิจด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กิจกรรมที่ 2 การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาและยกระดับคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายสมภพ สมิตะสิริ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการ มท. เป็นประธาน
ในการเปิดโครงการฯ
โดยมีการอภิปราย ในหัวข้อ "แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการขับเคลื่อนการประเมิน ITA ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ดังนี้
การขับเคลื่อนการประเมิน ITA
- ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ปรับเปลี่ยน กระบวนการและบทบาทของผู้จัดเก็บข้อมูล และประเมินผล จากเดิมที่เป็นการดำเนินการ โดยคณะที่ปรึกษาการประเมินจาก สถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยภายนอก มาเป็นการดำเนินการเองโดยสํานักงาน ป.ป.ช. เต็มรูปแบบ
- ผลของการปรับเปลี่ยนได้ส่งผลให้ กระบวนการให้คำปรึกษาและการจัดเก็บ ข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐแต่ละประเภท และแต่ละพื้นที่มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
- ผลของการปรับเปลี่ยนยังส่งผลต่อการ บริหารจัดการงบประมาณที่ใช้ในการประเมิน ITA ให้สามารถทําได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดและมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการประเมิน ITA เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา
1. มีการนำระบบ OTP มาใช้ในการยืนยันตัวบุคคล ที่จะเข้าตอบแบบวัด IIT และแบบวัด EIT แทนการเข้าตอบโดยใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
2. การเก็บข้อมูล EIT มีการแยกเก็บเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ประชาชนทั่วไปที่เคยไปติดต่อหรือรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ สามารถเข้าตอบ ได้โดยอิสระผ่านระบบ OTP ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการประเมิน ITA ให้ได้มากที่สุด
ส่วนที่ 2 สำนักงาน ป.ป.ช. จะทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ หน่วยงานในเชิงลึกได้ แล้วจะทําการสัมภาษณ์ตามแบบประเมิน EIT เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่แท้จริงและสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของหน่วยงานที่ชัดเจน มากยิ่งขึ้น
การปรับระดับผลการประเมิน ITA จากเดิมที่เป็นระดับ AA – F ซึ่งอาจจะไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของหน่วยงาน ที่ชัดเจนมากนัก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็น
ผ่านดีเยี่ยม / ผ่านดี / ผ่าน / ควรปรับปรุง / ควรปรับปรุงโดยด่วน
เพื่อให้ผลการประเมินสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ ของหน่วยงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งหน่วยงานจะได้นำผลการประเมิน ITA มาปรับปรุง และพัฒนาองค์กรต่อไป

ความเปลี่ยนแปลงสําคัญ ของการประเมิน ITA 67
-ปรับเปลี่ยนข้อคำถาม ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต และการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น
-ลดความซ้ำซ้อน ลดความซ้ำซ้อนของข้อคำถามต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการตอบให้ตรงประเด็น
-คุณภาพของข้อมูล เน้นคุณภาพของข้อมูลที่หน่วยงาน ต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนมากขึ้น

IIT การเก็บข้อมูลจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน
1) การลดจำนวนข้อคำถามของแบบวัด IIT จาก 30 ข้อ เหลือ 15 ข้อ โดยมีการรวมบางข้อคำถาม เพื่อให้เกิดความกระชับและรวดเร็วในการตอบ รวมถึงมีการมุ่งเน้น ประเด็นข้อคำถามที่เกี่ยวกับการทุจริตทางตรงและทางอ้อม ให้มีความชัดเจนขึ้น
2 ) การปรับเปลี่ยนตัวเลือกคำตอบของแบบวัด IIT ได้มีการปรับจํานวนตัวเลือกจากเดิม 4 ระดับ เปลี่ยนเป็น 6 ระดับ เพื่อให้ผู้ตอบสามารถสะท้อนมุมมองการรับรู้ได้ชัดเจนขึ้น ส่วนข้อคำถามที่มีลักษณะเป็นการถามประสบการณ์ตรง ยังคงมีตัวเลือกคำตอบแบบ 2 ระดับเช่นเดิม
3) การเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) โดยเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากจํานวนร้อยละ 10 ของจํานวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทั้งหมด เป็นจํานวนร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทั้งหมด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น และกระจายกลุ่มผู้ตอบให้ครอบคลุมส่วนงานต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

EIT การเก็บข้อมูลจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
1) การลดจำนวนข้อคำถามของแบบวัด EIT จาก 15 ข้อ เหลือ 9 ข้อ เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลจากประชาชน หรือผู้ที่ติดต่อรับบริการมีความกระชับและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ตอบได้มีเวลาในการคิดกลั่นกรองก่อนตอบมากยิ่งขึ้น และมุ่งเน้นการถามเรื่องการทุจริตทางตรงและทางอ้อมมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
2) การปรับเปลี่ยนตัวเลือกคำตอบของแบบวัด EIT ได้มีการปรับตัวเลือกคำตอบในบางข้อเปลี่ยนเป็น 6 ระดับ เพื่อให้ผู้ตอบสามารถสะท้อนมุมมองการรับรู้ได้ชัดเจนขึ้น ขณะที่ข้อคำถามที่มีลักษณะเป็นการถามประสบการณ์ตรง ยังคงมีตัวเลือกคำตอบแบบ 2 ระดับเช่นเดิม
3) เรื่องการเพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ในปีนี้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนสำคัญ 3 ประการคือ
ประการที่ 1 หน่วยงานไม่ต้องระบุจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
ประการที่ 2 จํานวนขั้นต่ำของผู้ตอบแบบวัด EIT
ประการที่ 3 จํานวนขั้นต่ำของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

OIT การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
1) การลดจำนวนข้อคำถามของแบบวัด OIT จาก 43 ข้อ เหลือ 35 ข้อ แต่เพิ่มความเข้มข้นในแต่ละข้อมากขึ้น
2) การยกระดับความเข้มข้น ของการเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน เรื่องนี้มีความเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบไฟล์ที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลด้วย คอมพิวเตอร์ต่อได้ หรือที่เรียกกันว่า Machine Readable File
ประเด็นที่ 2 การมุ่งเน้นการขับเคลื่อนกิจกรรมในเชิงการป้องกันการให้สินบนเพิ่มมากขึ้น
3) การปรับเปลี่ยนระดับการให้คะแนนแบบวัด OIT จากเดิมมีระดับการให้คะแนนอยู่ 3 รูปแบบคือ "ไม่คิดคะแนน, 0 คะแนน และ 100 คะแนน" แต่ในการประเมิน ITA ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนระดับการให้คะแนนใหม่เป็น 2 รูปแบบคือ
รูปแบบที่ 1 มี 2 ระดับ คือ 0 คะแนน และ 100 คะแนน
รูปแบบที่ 2 มี 3 ระดับ คือ 0 คะแนน, 50 คะแนน และ 100 คะแนน
4) การลดจำนวนข้อคำถามของแบบวัด OIT จาก 43 ข้อ เหลือ 35 ข้อ แต่เพิ่มความเข้มข้นในแต่ละข้อมากขึ้น

60087.jpg