457514466193178806.jpg

วันนี้ (31 พ.ค. 2566) เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล

ปมท. มอบหมายให้นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง รักษาการในตำเเหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สป. เป็นผู้เเทนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ครั้งที่ 1/2566 โดยมี รอง นรม. (นายวิษณุ เครือนาม) เป็นประธาน ทั้งนี้ มีนายวิภูวรรธน์ กิติวุฒิศักย์ นวท.ชก. ตท.สป. เเละเจ้าหน้าที่ สน.สก. ปค. เข้าร่วมการประชุมเเละสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเเก่ผู้เเทน ปมท. ด้วย

สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
- พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 โดยกรมการปกครอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในหมวด การป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และหมวด 4 การดำเนินคดี
- ต่อมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งกระทรวงยุติธรรมว่า มีปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้แก่ 1) ด้านการจัดเตรียมงบประมาณและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการเตรียมความพร้อมของบุคลากร และ 3) ด้านความไม่ชัดเจนและขาดมาตรฐานกลางในการปฏิบัติงาน ครม.จึงเสนอพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฯ เพื่อขยายกำหนดเวลาในการมีผลใช้บังคับของมาตรา 22 ถึงมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติฯ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งความเห็นการใช้บังคับพระราชกำหนดดังกล่าว เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นไปตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญฯ หรือไม่ โดยเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฯ ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 และให้พระราชกำหนดฯ ไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น
- ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กรณีถูกกระทำทรมาน กรณีกล่าวอ้างว่าถูกบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งมีเรื่องคงค้างระหว่างดำเนินการอยู่ 13 ราย
- ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาเเนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ ประกอบด้วย ระเบียบว่าด้วยการบันทึกภาพเเละเสียงขณะจับเเละควบคุม ร่างเเบบบันทึกข้อมูล ระบบบันทึกข้อมูล รวมทั้งการเเต่งตั้งอนุกรรมการต่างๆ

457514488087445825.jpg

457514487214768201.jpg

457514557461234213.jpg

457514488288772116.jpg