S__15082048.jpg

วันนี้ (21 กรกฎาคม 2566) เวลา 13.30 – 16.30 น. ผอ.ตท.สป. ได้มอบหมาย นางสาวฐิติพร อุนรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการต่างประเทศ ตท.สป. ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแจ้งความคืบหน้าและรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้า โดยมีนางสาวภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา นวท.ชก. พร้อมด้วย นางสาวพัฒน์นรี รูปิยะเวช และนายสุรศักดิ์ สันทาลุนัย นักศึกษาฝึกงาน เข้าร่วมการประชุมฯ การประชุมดังกล่าวฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ภาพรวมการเจรจา FTA ของประเทศไทย: ประเทศไทยมีสถานการณ์เจรจา FTA ดังนี้ (1) มี FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้ว จำนวน 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ (2) อยู่ระหว่างการเจรจา จำนวน 12 ฉบับ และ (3) มีแผนในการเจรจา จำนวน 9 ฉบับ
2. การเจรจา FTA ระหว่างประเทศไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA): มีการประกาศเริ่มเจรจาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ภายใต้กรอบการเจรจาฯ ดังกล่าว ได้มีการเจรจาใน 15 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย
(1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือด้านศุลกากร (4) มาตรการเยียวยาทางการค้า (5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6) มาตรการอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า (7) การค้าบริการ (8) การลงทุน (9) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (10) ทรัพย์สินทางปัญญา (11) การแข่งขัน (12) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (13) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (14) ความร่วมมือด้านเทคนิคและการเสริมสร้าง ศักยภาพ (15) กฎหมาย และการระงับข้อพิพาท ในปัจจุบันทั้ง 15 กลุ่มย่อย อยู่ระหว่างการหารือข้อบทเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปในการจัดทำ FTA ในภาพรวม ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาภายใต้กรอบดังกล่าวได้ภายในห้วงกลางปี 2567
3. การเจรจา FTA ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU): มีการประกาศเริ่มเจรจาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ภายใต้กรอบการเจรจาฯ ดังกล่าว ได้มีการเจรจาใน 19 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (4) มาตรการเยียวยาทางการค้า (5) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (6) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (7) การค้าบริการและการลงทุน (8) การค้าดิจิทัล (9) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (10) ทรัพย์สินทางปัญญา (11) การแข่งขันและการอุดหนุน (12) รัฐวิสาหกิจ (13) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (14) พลังงานและวัตถุดิบ (15) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (16) ระบบอาหารที่ยั่งยืน (17) ความโปร่งใสและแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (18) การระงับข้อพิพาท (19) บทบัญญัติพื้นฐาน บทบัญญัติ ทั่วไป บทบัญญัติสุดท้ายและบทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน และข้อยกเว้น โดยทั้ง 19 กลุ่มย่อยอยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลในการเจรจาข้อบท ซึ่งภาคเอกชนได้แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนข้อมูล/การจัดทำท่าทีในการเจรจา ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาภายใต้กรอบดังกล่าวได้ภายในปี 2568
4. การเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา (ACAFTA): มีการประกาศเริ่มการเจรจาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ภายใต้กรอบการเจรจาฯ ดังกล่าว ได้มีการเจรจาใน 17 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย (1) การค้าสินค้า (2) การเยียวยาทางการค้า (3) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (4) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (7) การค้าบริการ (8) บริการโทรคมนาคม (9) บริการด้านการเงิน (10) การลงทุน (11) ทรัพย์สิน ทางปัญญา (12) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (13) การแข่งขันทางการค้า (14) MSMEs (15) ความร่วมมือด้านเทคนิคฯ (16) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (17) กฎหมายและสถาบัน ในขณะนี้ ทั้ง 17 กลุ่มย่อย อยู่ระหว่างการยกร่างข้อบทในแต่ละสาขา ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาภายใต้กรอบดังกล่าวได้ภายในปี 2568
5. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (TH-UAE CEPA): มีการประกาศเริ่มการเจรจาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ภายใต้กรอบการเจรจาฯ ดังกล่าว ได้มีการเจรจาใน 12 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือด้านศุลกากร (4) มาตรการเยียวยาทางการค้า (5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6) มาตรการอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า (7) การค้าบริการ รวมถึงการค้าดิจิทัล (8) การลงทุน (9) ทรัพย์สินทางปัญญา (10) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (11) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ MSMEs (12) ประเด็นด้านกฎหมาย และสถาบัน ทั้ง 12 กลุ่มย่อยอยู่ระหว่างการเจรจาข้อบทเพื่อให้ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาภายใต้กรอบดังกล่าวได้ภายในปี 2566
6. การเจรจา FTA ประเทศไทยกับศรีลังกา (SLTFTA): ประกาศเริ่มการเจรจาในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ภายใต้กรอบการเจรจาฯ ดังกล่าว ได้มีการเจรจาใน 12 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) พิธีการทางศุลกากรและการอานวยความสะดวกทางการค้า (4) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (5) มาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6) การเยียวยาทางการค้า (7) การค้าบริการ (8) การลงทุน (9) ทรัพย์สินทางปัญญา (10) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ (11) กฎหมาย ปัจจุบันมีการเจรจามาแล้ว 5 รอบ การเจรจาร่างข้อบทมีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 70 และได้ข้อสรุปแล้วใน 3 ข้อบท ได้แก่ (1) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (2) มาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

S__15082049.jpg