S__36610094.jpg

วันนี้ (วันที่ 25 ก.ค. 2566) ระหว่างเวลา 09.30 น. - 12.20 น. นายทรงกลด ขาวแจ้ง นวท.ชก. พร้อมด้วย นางสาวสิรภัทร จงวัฒนาบุญ นวท.ปก. และนางสาวชรินทร นิ่มทอง นิสิตฝึกประสบการณ์ รวมทั้งผู้แทน ปค. (สน.มน. และ สน.บท.)ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องวิเทศสโมสร กต. ซึ่งมีอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กต. เป็นประธานฯ โดยการประชุมฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

1. การจัดทำรายงานรอบกลางรอบ (mid-term review) ภายใต้กลไก UPR

ประเทศไทยมีกำหนดที่ต้องรายงานในห้วงต้นปี พ.ศ. 2567 โดยรายงานความคืบหน้ารอบที่ 3 จะประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การออก พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2566 2) การดำเนินการเพื่อถอนถ้อยแถลงตีความต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) 3) การดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (ICPPED) 4) การประบคืนสถานะ A ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ 5) การจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ทั้งนี้ ฝ่ายเลขาฯ แจ้งว่าจะยกร่างรายงานฯ ก่อนแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงข้อมูลต่อไป

2. การพิจารณาตอบรับการเยือนอย่างเป็นทางการของกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีฯ

ที่ประชุมหารือและได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยน่าจะมีความพร้อมตอบรับการเยือนอย่างเป็นทางการของกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติชุดแรกได้ภายในต้นปี 2567 ซึ่งการตอบรับคำขอเยือนฯ จะส่งผลเชิงบวกต่อการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ซึ่งจะมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2568-2570 โดยกลไกที่พร้อมรับการเยือนในลำดับแรก ได้แก่ สิทธิมนุษยชนทางด้านสุขภาพ (Special Rapporteur on Health) และคณะทำงานว่าด้วยการยุติการเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสตรี (Working Group on Discrimination against Women and Girls) ทั้งนี้ หากหน่วยงานใดมีประเด็นและมีความพร้อมรับการเยือนสามารถประสานเพิ่มเติมได้

3. การจัดทำคำมั่นของประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี ของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ฝ่ายเลขาฯ แจ้งว่า กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับไทย/ไทยจะเข้าร่วม ได้แก่
1) การจัด regional dialogues ซึ่งสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีกำหนดจัดในวันที่ 11 ต.ค. 2566 ที่กรุงเทพฯ ซึ่ง กต. อยู่ระหว่างประสานกับสำนักงาน OHCHR ประจำภูมิภาค เพื่อเสนอตัวเป็น co-host
2) การประชุม Human Rights 75-High-level event ระหว่างวันที่ 11-12 ธ.ค. 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
3) การยกร่างคำมั่นของประเทศไทยเพื่อให้ผู้แทนไทยกล่าวถ้อยแถลงในวาระครบรอบ 75 ปี ของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
4) การยกร่างคำมั่นประกอบการกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม 2nd Global Refugee Forum (GRF) ซึ่งเป็นไปตามการดำเนินการตามข้อตกลง Global Compact on Refugee (GCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี

ซึ่งการดำเนินการตามข้อ (3) และ (4) จะต้องขอรับข้อมูลการดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนยกร่างฯ และเมื่อได้ final draft แล้ว ต้องเสนอให้ ครม. เห็นชอบก่อนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

4. สถานะการจัดทำรายงานตามพันธกรณีภายใต้ กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การรายงานด้วยวาจาและการจัดทำรายงานตามพันธกรณีภายใต้ กม. ระหว่างประเทศฯ ต้องถูกเลื่อนออกไป โดยคาดว่าจะกลับมามีความคืบหน้าและต้องมีการกำหนดให้ส่งรายงาน รวมทั้ง การรายงานด้วยวาจาร่วมด้วย ซึ่งฝ่ายเลขาฯ ได้ชี้แจงสถานะการดำเนินการของแต่ละพันธกรณีฯ จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ 1) ICERD 2) ICCPR 3) ICESCR 4) CEDAW 5) CAT 6) CRC และ 7) CRPD

โดยการรายงานโดยวาจา ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะว่า นอกจากหน่วยงานที่รับผิดชอบพันธกรณีฯ อาจพิจารณาผู้แทนหน่วยงานตุลาการ และรัฐสภาร่วมคณะไปนำเสนอรายงานด้วยวาจาเพื่อให้เกิดครอบคลุมมากขึ้น การดำเนินการที่มีพันธกรณีเชื่อมโยงกับ SDGs เห็นควรขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจาก สศช. เพื่อประกอบการจัดทำรายงานฯ ให้เชื่อมโยงกับ SDGs รวมทั้ง รายงานที่เกินกำหนดห้วงเวลาส่ง อาจต้องมีการพิจารณาคำตอบ ว่ามีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันหรือไม่

S__36610093.jpg

S__36610095.jpg

S__36610091.jpg