S__4604180_0.jpg

วันนี้ (8 ก.ย. 66) เวลา 10.00 - 13.00 น. ผอ.ตท.สป. มอบหมายให้นางสาวมณีวรรณ ธุวะนุติ นวท.ปก. และ นางสาวสิรภัทร จงวัฒนาบุญ นวท.ปก. เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางบริการรักษาพยาบาล (Medical Service Hub) ครั้งที่ 2/2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โปรแกรม WebEx ร่วมกับ สิบโท พิชิต ตู้บรรเทิง ผอ.กลุ่มงานร่างกฎหมาย สกม. โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ ดังนี้
1. เรื่องที่แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 มติ ครม. เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2564 อนุมัติในหลักการการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non - MT โดยมีหลักเกณฑ์ คือ ผู้ป่วยทุกสัญชาติสามารถขอรับการตรวจลงตราฯ ได้ โดยมีผู้ติดตามได้ไม่เกิน 3 ราย เดินทางมารับการรักษาพยาบาล (นัดหมายล่วงหน้ากับสถานพยาบาลที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกำหนด) ระยะเวลา 1 ปี เข้าออกได้หลายครั้ง (Multiple Entry)
1.2 มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 เห็นชอบ Medical Treatment Visa รหัส Non - MT ในหลักเกณฑ์การตรวจลงตราฯ ข้อ 8.8 เกี่ยวกับการกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลระยะเวลา 1 ปี ค่าธรรมเนียมการเข้าออกหลายครั้ง (Multiple Entry) จากเดิมรายละ 6,000 บาท เป็นรายละ 5,000 บาท
2. เรื่องเพื่อพิจารณา
ที่ประชุมมีข้อเสนอต่อร่างหลักเกณฑ์ในการขอรับการตรวจลงตราฯ ดังนี้
2.1 การขอรับการตรวจลงตราฯ ประเภท Non - Immigration (Medical Treatment Visa) รหัส Non - MT กต. เสนอให้มีการกำหนดระยะการอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 1 ปี โดยมีหมายเหตุให้เป็นไปตามระยะของกรมธรรม์ประกันภัย
2.2 เอกสารการนัดหมายกับสถานพยาบาล (confirmation Lettrt) สอท.จะยึดเอกสารชนิดนี้เป็นหลัก โดยเห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้การรับรองก่อนยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราฯ
2.3 เอกสารแสดงความสัมพันธ์กับผู้ป่วย (Affidavit Letter) ในชั้นนี้ผู้ติดตามหมายถึง บิดา/มารดา คู่สมรม และ บุตร/บุตรในอุปการะ โดยต้องมีเอกสารยืนยันความสัมพันธ์
2.4 หลักฐานทางการเงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายภายในประเทศไม่น้อยกว่า 800,000 บาทต่อคน (Bank Statement) ซึ่งอาจพิจารณาให้ผู้ติดตามใช้การรับรอง sponsorship ในการดูแลค่าใช้จ่ายร่วมด้วยได้
2.5 หลักฐานทางการเงินครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งในส่วนนี้จะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของโรงพยาบาลที่จะกำหนดค่ารักษาพยาบาล
2.6 เอกสารหลักฐานแสดงประกันภัยกรณีอุบัติเหตุและการช่วยเหลือฉุกเฉิน คุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ในราชอาณาจักรวงเงินไม่น่อยกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ อาจต้องมีใบรับรองกรมธรรม์ประกันภัย จึงควรพิจารณารูปแบบสำหรับให้ต้นทางออกหนังสือรับรองประกันภัย หรืออาจพิจารณาให้ใช้ประกันภัยจากบริษัทของไทย เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ
2.7 ประกันภัยต้องครอบคลุมอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
2.8 ผู้ป่วยต้องรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุก 90 วัน

S__4604181_0.jpg