S__49930312_0.jpg

วันที่ 2 เม.ย. 2567 ระหว่างเวลา 9.30-15.00 น. ปมท. ได้มอบหมายใหเจ้าหน้าที่ กตท.ตท.สป. เป็นผู้แทน มท. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการข้อมูลการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ของประเทศไทย ณ ห้อง BB201 โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ โดยมีนางสาวสิรภัทร จงวัฒนาบุญ นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) ของประเทศไทย ต้องมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1.1 ผู้รับต้องมีรายชื่ออยู่ใน Development Assistance Committee (DAC) List of ODA Recipients เท่านั้น
1.2 รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งนับรวมถึงการสนับสนุนของภาคเอกชน ที่ดำเนินการผ่านภาครัฐ
1.3 การสนับสนุนมีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและมาตรฐานความเป็นอยู่ ตลอดจนความผาสุกของประเทศกำลังพัฒนาในรายชื่อที่ DAC กำหนด
ทั้งนี้ ไม่นับรวมเงินสนับสนุนทางการทหาร การรักษาความสงบ พลังงานนิวเคลียร์ โครงการทางวัฒนธรรม และกิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์ต่าง ๆ

2. ODA ใช้วัดระดับความพยายามของแต่ละประเทศในการสนับสนุนการพัฒนาของโลก (Provider’s commitment) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการบรรลุ SDGs เป้าหมายย่อยที่ 1a / 4b / 9a / 10b / 17.2 / 17.3 / 17.9 / 17.15 / 17.16 โดย OECD และ UN จะใช้เปรียบเทียบกับรายได้มวลรวมประชาชาติ (Gross National Income: GNI) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีค่าอยู่ที่ร้อยละ 0.02

3. การดำเนินงานด้าน ODA ของประเทศไทยมี 3 รูปแบบ ได้แก่
3.1 ความช่วยเหลือให้เปล่า (grant) เช่น ความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) ความร่วมมือด้านสาธารณสุข อาทิ การบริจาคเครื่องมือแพทย์ และวัคซีน และการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากประเทศในรายชื่อตามเกณฑ์ที่ OECD กำหนด
3.2 เงินกู้ผ่อนปรน (soft loan) ที่มีอัตราส่วนเป็นมาตรฐานสัมปทาน
3.3 เงินอุดหนุนหน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (contribution)

4. ข้อมูลการดำเนินโครงการที่ต้องรายงานให้ TICA ทราบ ประกอบด้วย 7 หมวด 29 รายการ โดยผู้รับผิดชอบการกรอกข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่
4.1 กรณีหน่วยงานเจ้าของงบประมาณดำเนินกิจกรรมเอง ให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้กรอกข้อมูล
4.2 กรณีกิจกรรมได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณเป็นผู้กรอกข้อมูล
4.3 กรณี Cost-sharing ให้แต่ละหน่วยงานกรอกข้อมูลในปริมาณที่หน่วยงานนั้น ๆ ออกเงิน โดยใช้ Project ID เดียวกัน
ทั้งนี้ มีข้อมูลที่ TICA ขอความอนุเคราะห์ให้หน่วยงานกรอกเพิ่มเติมในแต่ละหมวดด้วย

โดยในการประชุมฯ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์การจัดทำรายงานข้อมูล ODA ของออสเตรเลีย

S__49930315_0.jpgS__49930314_0.jpg