340019_0.jpg

     วันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 09.00 - 10.30 น. นางวาสนา เตชะวิจิตรสาร ผู้อำนวยการกลุ่มงานอาเซียน ตท.สป. ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ เรื่อง แผนแม่บทอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบท ในการประชุมปรึกษาหารือระดับชาติ (National Consultation Meeting) เรื่อง เกษตรนิเวศน์ ในบริบทแผนแม่บทอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบท (ASEAN Master Plan on Rural Development) และแนวทางระดับอาเซียนว่าด้วยเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน (ASEAN Regional Guidelines on Sustainable Agriculture) จัดโดยสมาคมพัฒนาทรัพยากรมุษย์ในชนบท (ThaiDHRRA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน นักวิชาการ และเกษตรกร รวมทั้งแสวงหาแนวทางการประสานความร่วมมือด้านเกษตรนิเวศน์ (Agroecology) ในการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ผ่านกระบวนการสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือและเครือข่าย (Partnerships and Networking) ในการผลักดันให้เกิดการสร้างความมั่นคงทางอาหารต่อไป

340022_0.jpg

340021_0.jpg

   โดยแผนแม่บทอาเซียนด้านการพัฒนาชนบท ปี พ.ศ. 2565 - 2569 (ASEAN Master Plan on Rural Development 2022 - 2026) เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของการพัฒนาชนบทสำหรับภูมิภาคอาเซียน เพื่อใช้เป็นแผนการพัฒนาชนบทที่มีความเชื่อมโยงระหว่างสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน ครอบคลุมแผนงานในการพัฒนาโอกาสทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ศักยภาพและความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศรวมถึงการส่งเสริมความยั่งยืนด้านเกษตรและอาหารให้กับพื้นที่ชนบทในภูมิภาคอาเซียน และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทด้านการเกษตรที่ยั่งยืน มีประเด็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านเกษตรนิเวศน์ (Agroecology) ในการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ผ่านกระบวนการสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือและเครือข่าย (Partnerships and Networking) ในการผลักดันให้เกิดการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในภูมิภาค เนื่องจากการเกษตรและระบบอาหารที่มั่นคงสามารถหล่อเลี้ยงประชากรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การเกษตรจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน

350425.jpg

 

340024_0.jpg

 

ASEAN Master Plan on Rural Development 2022 - 2026 มีวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 
    1. ความมั่นคงด้านอาหารและภูมิภาคที่ปลอดภัย ลดภาวะความหิวโหยและทุพโภชนาการในระดับต่ำ จากประสิทธิผลการเกษตรและอาหาร เพิ่มศักยภาพด้านการตลาดของภูมิภาคที่ส่งออกไปทั่วโลก รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรับผิดชอบ
    2. โอกาสทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และเอื้อต่อการดำรงชีพและการจ่างงานอย่างต่อเนื่องลดความเลื่อมล้ำและความยากจนของประชาชนในชนบท
    3. ชุมชนสำหรับทุกคน ผ่านการศึกษา สุขภาพ และบริการขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันรวมถึงความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนในทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนชายขอบ ผู้หญิง เด็กเยาวชน และคนพิการ
    4. การพัฒนาศักยภาพและการปรับตัว การมีส่วนร่วม การสร้างภูมิคุ้มกัน และการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    5. การมีส่วนร่วมของชุมชนอาเซียนต่อเวทีระดับภูมิภาคต่าง ๆ ในข้อริเริ่มในด้านสวัสดิการ นโยบาย การมีส่วนร่วม และธรรมาภิบาล
    6. การลงทุนในระบบการเกษตรและอาหารเพื่อความยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ส่งเสริมความก้าวหน้าอย่างเท่าเทียมในภูมิภาค ร่วมทั้งได้รับประโยชน์และโอกาสในการพัฒนาระดับโลก

 

340023_0.jpg

 

 013378-.png