353506_2.jpg

     วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.  นางสาวนญา พราหมหันต์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ กลุ่มงานอาเซียน กองการต่างประเทศ สป.ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสัมมนากลุ่มย่อย ครั้งที่ 4 เรื่อง “ห่วงโซ่อุปทาน อินโด – แปซิฟิก: โอกาสการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค” ผ่านระบบ Zoom จัดโดยกองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 

353507_0.jpg

353506_3.jpg

      ในงานสัมมนา ประกอบด้วยกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทน Pillar Lead Negotiator ฝ่ายไทย และผู้แทนหน่วยงานไทยจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมงานรวมจำนวนกว่า 180 ราย เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอบทบาทการพัฒนาอุตสาหกรรมของ สศอ. ในฐานะหน่วยงานหลักและร่วมเจรจาจัดทำความตกลง IPEF เสาความร่วมมือที่ 2 ห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความเห็นต่อแนวทางการใช้ประโยชน์ของห่วงโซ่อุปทาน IPEF ภาคอุตสาหกรรมในสาขาและสินค้าที่สำคัญ การเสริมสร้างเครือข่ายสมรรถนะ อีกทั้งข้อเสนอเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเด็นสำคัญ อาทิ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การพัฒนาด้านดิจิทัล การอำนวยความสะดวกด้านระบบโลจิกติกส์ การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้การดำเนินโครงการวิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึกเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม

353505_0.jpg

 

สรุปสาระสำคัญได้ 3 ประเด็น ดังนี้
   1. ภาพรวมของกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework : IPEF) เน้นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาค ประกอบด้วย ความร่วมมือ 4 เสาหลัก ได้แก่ 1) การค้า (Trade) 2) ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) 3) เศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Clean Economy) 4) เศรษฐกิจที่เป็นธรรม (Fair Economy) ซึ่งกรอบ IPEF ข้างต้นเป็นเพียงแนวคิดกว้าง ๆ และยังไม่ได้ก่อให้เกิดภาระผูกพันใด ๆ โดยประเทศไทย สามารถพิจารณาเลือกที่จะเข้าร่วมแต่ละเสาความร่วมมือ ตามความพร้อมและความสมัครใจ

   2. การสัมมนาในวันนี้ มุ่งเน้นเฉพาะกรอบการเจรจา IPEF เฉพาะเสาความร่วมมือที่ 2: ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวทางการเพิ่มความเข้มเเข็งและการลงทุนในสาขาและสินค้าที่สำคัญของประเทศ การสร้างกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการรับมือต่อวิกฤติต่าง ๆ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทาน การส่งเสริมบทบาทของแรงงาน และการปรับปรุงความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน

   3. สถานการณ์ปัจจุบัน กรอบการเจรจา IPEF เสาความร่วมมือที่ 2: อยู่ระหว่างการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในภาพรวม พร้อมทั้งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมจัดทำกรอบการเจรจา IPEF ในการกำหนดทิศทางความร่วมมือของไทย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถบรรลุเข้าหมายความร่วมมือต่อไป ทั้งนี้ หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จะมีการเสนอกรอบการเจรจาอย่างเป็นทางการในวาระถัดไป

353506_0.jpg