NY well being 1.png

     ระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2566 นางสาวนญา พราหมหันต์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ กลุ่มงานอาเซียน กองการต่างประเทศ สป. ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ในหลายประเทศเกี่ยวกับภารกิจด้านสุขภาวะที่ดีและการเพิ่มผลผลิต (Multicountry Observational Study Mission on Well-being and Productivity) จัดโดยองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization: APO) ผ่านระบบ Zoom Meeting โครงการมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีและการเพิ่มผลผลิตในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีวิทยากรจำนวน 4 คน จากสาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ประเทศญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร และมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 48 คน จาก 12 ประเทศสมาชิก APO 

 NY well being 4.png

      ทั้งนี้ APO ให้ความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี (Well-being) และการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ว่าเสมือนเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของทั้งบุคคลและองค์กร โดยโครงการการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ในหลายประเทศเกี่ยวกับภารกิจด้านสุขภาวะที่ดีและการเพิ่มผลผลิต (Multicountry Observational Study Mission on Well-being and Productivity) มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้... 

    1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในวิธีการจัดการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีและการเพิ่มผลผลิตของผู้ปฏิบัติงาน 
    2. เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี
    3. เพื่อส่งเสริมทักษะความฉลาดทางอารมณ์ในการนำไปปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทุกมิติ
    4. เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายระดับชาติและกลยุทธ์ขององค์กรในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีและการเพิ่มผลผลิตในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

NY well being 2.png     

ภาพรวมการบรรยายและอภิปราย แบ่งเป็น 6 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

    1. ภาพรวมของสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต แนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง และการออกแบบนโยบายที่มีประสิทธิภาพ (Overview of workplace health, its impact on productivity, changing trends, and designing effective programs)
    2. ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและความสามารถในการสร้างผลผลิตอย่างครอบคลุม (Work- life balance and inclusive productivity)
    3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะที่ดีและการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Factors affecting well-being and productivity)
    4. เคล็ดลับสามประการของญี่ปุ่นเพื่อชีวิตที่สมดุลในโลกสมัยใหม่ (Three Japanese secrets for a balanced life in the modern world)
    5. บทบาทของผู้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน (Role of policy makers in promoting workplace health and well-being)
    6. เครื่องมือและเทคนิคเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน (Tools and Techniques for employee well-being)


NY well being 3.png