7218.jpg

ระหว่างวันที่ 24-28 มิ.ย. 2567 นางสาวนญา พราหมหันต์ นวท.ชก. กลุ่มงานอาเซียน ตท สป ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการฝึกอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการแผนปฏิบัติการระดับชาติ (National Action Plan: NAP) เพื่อเสริมสร้างการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยสตรี สันติภาพ และความมั่นคง (Women, Peace and Security: WPS) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ จัดโดย UN WOMAN สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation: AIPR) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยสตรี สันติภาพ และความมั่นคงในระดับชาติ

การฝึกอบรมมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ (NAP) การจัดทำตัวชี้วัด แนวทางการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมาตรการและแนวปฏิบัติด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง (WPS)สำหรับประเทศไทย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม. เป็นหน่วยงานหลักในการเสนอนโยบาย มาตรการ กลไกในการส่งเสริม พัฒนา คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ และสร้างความเข้มแข็งสตรี ขับเคลื่อนข้อตกลง พันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนวาระ WPS ผ่าน “มาตรการและแนวปฏิบัติด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง พ.ศ. 2566-2568” ที่มีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการมิติเพศภาวะเข้าสู่นโยบายด้านสันติภาพและความมั่นคง การขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในสถานการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งเป็นแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในการแก้ไขปัญหาด้วยมาตรการและแนวทางปฏิบัติ 5 มาตรการ ได้แก่ (1) การป้องกัน (Prevention) (2) การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและการฟื้นฟูเยียวยา (Protection and Recovery) (3) การพัฒนาศักยภาพ (Capacity building) (4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสตรี (Empowerment and participation) และ (5) การส่งเสริมให้มีกลไกและการขับเคลื่อน (Mechanism and implementation) ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสตรี สันติภาพและความมั่นคง (NAP WPS) พ.ศ. 2567 - 2570 จึงได้มีการจัดทำตัวชี้วัดร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการและรายงานผลตัวชี้วัดเพื่อติดตามความก้าวหน้าของแต่ละผลลัพธ์ซึ่งเชื่อมโยงไปกับแต่ละเสาหลักของ WPS ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมและการส่งเสริมศักยภาพ (Participation and Empowerment) 2. การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ (Protection) 3. การป้องกัน (Prevention) 4. การฟื้นฟูเยียวยา (Relief and recovery)

ทั้งนี้ มท. เป็นหน่วยงานที่จะมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือในระดับพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนแผนงาน NAP WPS ดังกล่าว รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนา มาตการที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทาง พม. จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงร่างแผนงานของประเทศไทยเพื่อผลักดัน NAP WPS ต่อไป

7219_0.jpg

7224_0.jpg

7223_0.jpg

7222_0.jpg

7221_0.jpg

7220_0.jpg