42.jpg

วันนี้ (วันที่ 28 มิ.ย. 2566) ระหว่างเวลา 09.30 - 12.40 น. นายทรงกลด ขาวแจ้ง นวท.ชก. ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทน มท. เข้าร่วมการประชุมเพื่อหาข้อสรุปท่าทีไทยต่อการรับรองร่างแนวทางอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ASEAN Guidelines on the Protection of Migrant Workers and Family Members in Crisis Situation) ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 รง. โดยในชั้นต้น มท. ได้ให้ความเห็นต่อร่างแนวทางฯ ดังกล่าว โดยให้ความสำคัญกับโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ซึ่งสอดรับกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 และถือเป็นการวางแนวทางการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในสถานการณ์ฉุกเฉินและวิกฤตต่าง ๆ ตามหลักมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หลักความสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นประโยขน์ต่อประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนสำหรับใช้เป็นมาตรฐานในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่แรงงานข้ามชาติและครอบครัว
ทั้งนี้ มท. ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคงภายในและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและแก้ไขปัญหากรค้ามนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติได้แจ้งโครงการ/กิจกรรมให้ฝ่ายเลขานุการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว

โดยในที่ประชุมมีผู้แทนหน่วยงานอื่น ๆ ได้ให้ได้ความคืดเห็นเพิ่มเติม อาทิ
(1) ผู้แทน กต. เห็นว่าสามารถปรับปรุงให้กระชับขึ้นได้ และให้กำหนดไว้ในคำนำให้ชัดเจนถึงที่มาของร่างแนวทางฯ และยังมีการอ้างอนุสัญญาฯ หลายฉบับที่ไทยยังมิได้เป็นภาคี ซึ่งในชั้นนี้ กรมอาเซียน กต. ยังมิได้หารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต.
(2) ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งว่า จะมีการเวียนแจ้งให้รัฐบาลประเทศสมาชิกให้ความเห็นชอบภายในเดือน ส.ค. 2566
โดยจะพยายามนำข้อคิดเห็น/ข้อห่วงกังวลไปแจ้งเพื่อปรับปรุงร่างแนวทางฯดังกล่าว
(3) กลุ่มประเทศสมาชิกที่มีท่าทีทิศทางเดียวกับไทยที่มีความประสงค์ให้ปรับปรุงร่างแนวทางฯ ดังกล่าว ได้แก่ เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยขอให้สงวนการให้ความคุ้มครองแรงงานไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งหมายรวมถึงผู้ติดตาม เช่นเดียวกับการให้การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมาย
(4) ผู้แทนกรมการจัดหางาน รง. ให้ข้อคิดเห็นว่า ประเทศไทย เป็นประเทศผู้รับซึ่งมีทั้งรับแรงงานตาม MOU และแรงงานผ่อนผันตามมติ ครม. ซึ่งหากรับรองแนวทางฯ ดังกล่าว จะต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น แม้จะไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายก็ตาม แต่อาจได้รับแรงกดดัน/ทวงถามถึงการปฏิบัติตามร่างแนวทางฯ นี้ ในอนาคต ซึ่งต่างจากประเทศที่เห็นชอบ เนื่องจากประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศส่งออกแรงงาน ซึ่งไม่ได้มีข้อกังวลเช่นเดียวกับประเทศไทย จึงเห็นควรให้เจาะจงไปที่ภัยพิบัติเท่านั้น
(5) ผู้แทน มท. ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม โดยขอให้ยืนยันนิยามของ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ให้อยู่ในขอบเขตของ “ภัยพิบัติทางธรรมชาติ” และ “โรคระบาด” เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของร่างแนวทางฯ ข้างต้นอย่างแท้จริง
(6) ที่ประชุมฯ ได้ขอให้ ปภ. พิจารณาย่อหน้าที่ 28 70 และ 71 ว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร โดยในที่ประชุมฯ เสนอให้ตัดออก โดยได้ประสาน กอซ.ตท.สป. เพื่อแจ้ง ปภ. ให้พิจารณาในชั้นต้น ก่อนแจ้งฝ่ายเลขานุการฯ ทราบต่อไป
ในการนี้ หากมีการประชุมฯ เพื่อพิจารณาร่างแนวทางฯ ดังกล่าวในโอกาสหน้า เห็นควรแจ้งให้ ปภ. มอบหมายผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ด้วย
(7) ที่ประชุมได้มีการปรับแก้ร่างแนวทางฯ ร่วมกัน และจะส่งให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนพิจารณาในโอกาสต่อไป

39.jpg

41.jpg

40.jpg

43.jpg