S__70983730.jpg

วันนี้ (วันที่ 21 ก.ย. 2566) นางสาวอโรชา นันทมนตรี ผช.ปมท. ผู้แทน มท. และนายทรงกลด ขาวแจ้ง นวท.ชพ. ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ มีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.รง. ทำหน้าที่ประธานฯ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ สธ. กต. สมช. สขช. ทบ. กอ.รมน. สตม.ตร. กรมการจัดหางาน รง. สำนักงานประกันสังคม รง. เป็นต้น โดยสาระสำคัญของการประชุมฯ ที่เกี่ยวข้องกับ มท. มีดังนี้​
๑. การปรับลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราและการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) จากการประชุม คบต. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๖๕ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับลดค่าธรรมเนียมฯ ข้างต้นเป็นที่เรียบร้อย โดย รง. ได้เสนอ ร่างกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ที่ ตท.สป. ได้ดำเนินการยกร่างประกอบการเสนอเรื่องดังกล่าว ให้ ครม. พิจารณา แต่ สลค. ให้ข้อสังเกตว่าร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว อาจเป็นการดำเนินการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ และเข้าข่ายเป็นเรื่องที่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อ ครม. ชุดต่อไป อันเป็นการต้องห้ามตาม ม. ๑๖๙ ของ รธน. แห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น รง. จึงได้ถอนข้อเสนอฯ ดังกล่าว เพื่อเสนอต่อ ครม. ชุดต่อไป ซึ่งฝ่ายเลขานุการ แจ้งว่า รง. จะนำเรื่องนี้เสนอ ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในโอกาสแรก
​​ ๒. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งนายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อ ความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๕ ก.ค. ๒๕๖๖ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ คนต่างด้าว ๔ สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม)
ที่ปัจจุบันได้รับการผ่อนผันให้อยู่เพื่อทำงานจนถึง วันที่ ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๖ ซึ่งในห้วงแรกจะผ่อนผันให้อยู่และทำงานไปพลางก่อนเป็นระยะเวลา ๙๐ วัน โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ ๑ ต.ค. ๒๕๖๖ และในขณะเดียวกันให้ไปดำเนินการกระบวนการต่าง ๆ ตามที่ รง. กำหนด หากดำเนินการได้ครบถ้วนให้อนุญาตเพื่ออยู่และทำงานในราชอาณาจักรต่อไปได้จันถึงวันที่ ๑๓ ก.พ. ๒๕๖๘ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และขอให้ มท. จัดทำร่างประกาศ มท. และ รง. จัดทำร่างประกาศ รง. ตามแนวทางดังกล่าว เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป​
๓. แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ๓ สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานตาม (MOU) ซึ่งวาระการจ้างงาน ครบ ๔ ปี ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ คนต่างด้าว ๓ สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงานตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ ๔ ปี ระหว่างวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๖๓ - ๓๑ ธ.ค. ๒๕๖๖ โดยการผ่อนผันให้คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๖๗ โดยให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว พร้อมรูปถ่าย ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นนำแรงงานเข้ามาทำงานตาม MOU โดยให้เริ่มดำเนินการตามวัน เวลา ที่กรมการจัดหางาน รง. กำหนด โดยในระหว่างการผ่อนผัน ให้นายจ้างดำเนินการขออนุญาตนำแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันเข้ามาทำงานตาม MOU (U-TURN) ควบคู่ไปด้วย ตามแนวทางและวิธีการที่กรมการจัดหางาน รง. กำหนด หากคนต่างด้าวต้องไปดำเนินการจัดทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ในประเทศต้นทาง ให้สามารถเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรได้และหากประสงค์จะกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไปพลางก่อนในระหว่างรอรับหนังสือเดินทาง ให้กลับเข้ามาภายใน ๑๕ วัน โดยให้ใช้เอกสารที่ประเทศต้นทางออกให้ใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หากพ้นกำหนด ๑๕ วัน ไม่อนุญาตให้กลับเข้ามา ถ้าจะกลับเข้ามาให้กลับเข้ามาตามระบบ MOU โดยประเด็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดอยู่ในราชอาณาจักรเกินกว่าระยะเวลาอนุญาต (Over Stay) นั้น ผู้แทน สตม. ยังมีข้อกังวลในการปฏิบัติสำหรับการเดินทางออก - และการเดินทางกลับเข้ามาซึ่งจำเป็นต้องมีการหารือในรายละเอียดต่อไป อย่างไรก็ดี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ โดยให้ มท. ยกร่างประกาศ มท. โดยใช้อำนาจ ม. ๑๗ แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยอนุมัติของ ครม. เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งการยกเว้นการอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่กำหนด และการยกเว้นการแจ้งตาม ม. ๓๗ และ ม. ๓๘ แห่ง พ.ร.บ.และมาตราอื่นๆ ในระหว่างที่ยังไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือเดินทางฯ หมดอายุ

S__70983726.jpg

S__70983728.jpg

S__70983729.jpg