S__4833343_0.jpg

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ระหว่างเวลา 9.00-14.00 น. รมณ คูวงษ์วัฒนาเสรี ผอ.กปยน.ตท.สป/ผช.หน.สศอ.มท .ได้รับมอบหมายจาก ผอ.ตท.สป. ให้เข้าร่วมในงานเปิดตัวแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย (Decent Work Country Program: DWCP) วาระปี 2560-2570 ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล งานเปิดตัวแผนงานฯ เป็นการจัดงานที่เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานและสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานระดับชาติฯ ระหว่างผู้แทน 4 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล (ปลัดกระทรวงแรงงาน) ผู้แทนฝ่ายองค์กรลูกจ้าง (สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์) ผู้แทนฝ่ายองค์กรนายจ้าง (สภาองค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย) และรองaผู้อำนวยการ รกท. ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศฯ โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.รง. เป็น ประธานกล่าวเปิดงานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจฯ รวมทั้งได้มีการเสวนาร่วมกันระหว่างผู้แทน 4 ฝ่าย ดังกล่าว
ทั้งนี้ แผนงาน DWCP วาระปี 2566-2570 มีประเด็นความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. ความสำคัญที่ 1 อนาคต (Future)
พัฒนาตลาดแรงงานไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พัฒนาทักษะและอาชีพสำหรับแรงงานในอนาคต โดยระบุทักษะที่จำเป็นในอนาคต เพิ่มการจับคู่ในตลาดแรงงาน และเพิ่มการลงทุนในทุนมนุษย์ ปรับปรุงการเข้าถึงดิจิทัลและทักษะดิจิทัลเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในเศรษฐกิจฐานดิจิทัลและตลาดแรงงาน ส่งเสริมงานสีเขียวเพื่องานที่มีคุณค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของไทยด้วยการให้สัตยาบันพิธีสารระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาหลัก ปรับปรุงกฎหมายแรงงานไทย และการเพิ่มการตระหนักรู้ สร้างงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมทุกช่วงอายุ โดยยกระดับการแนะแนวอาชีพ บริการจัดหางานภาครัฐ สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาทักษะดิจิทัล สำหรับเยาวชน สตรี คนพิการและผู้สูงอายุ
2. ความสำคัญที่ 2 เข้าถึง (Reach)
รับรองการคุ้มครองทางสังคม และงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการคุ้มครองทางสังคมเพื่อมอบสิทธิคุ้มครองที่ครอบคลุมและเพียงพอ โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันสังคม สร้างความมั่นคงทางสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบและกลุ่มเปราะบาง ส่งเสริมให้องค์กรนายจ้างและลูกจ้างครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานและวิสาหกิจที่ยังไม่ได้รับการดูแลที่ทั่วถึง โดยเพิ่มตัวแทนในกลุ่มต่าง ๆ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มโอกาสในการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มพิเศษ โดยสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ขจัดรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับ และเพิ่มการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ
3.ความสำคัญที่ 3 เชื่อมต่อ (Connect)
เสริมความแข็งแกร่งในการจัดการข้อมูล การสื่อสาร และศักยภาพของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมงานที่มีคุณค่า โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการกำหนดเป้าหมายและการจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาฐานข้อมูล Big data ระหว่างหน่วยงาน การจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่เครื่องมือและความรู้ในวงกว้าง ส่งเสริมการเจรจาทางสังคมและการผลักดันนโยบาย โดยยกระดับการเจรจาทางสังคมระดับทวิภาคี การให้สัตยาบันอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง และการปรับปรุงพัฒนาการสื่อสารระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
องค์กรคู่งานและสาธารณชน โดยเพิ่มความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการติดตามและประเมินผล เพิ่มการสื่อสารระหว่าง ILO และองค์กรคู่งาน รวมถึงเพิ่มการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะชน แผนงาน DWCP วาระปี 2566-2570 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดแรงงานไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับแรงงานทุกคน เสริมความเข้มแข็งในการจัดการข้อมูล สื่อสาร และศักยภาพของรัฐบาล ให้บรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน โดยการยึดถือประเด็นสำคัญ 3 ประการดังกล่าว

S__4833342_0.jpgS__4833340_0.jpg