วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 เวลา 9.30 น. นายนภัทรพล วาณิชเสนี นวท.ชก.กปยน.ตท.สป. ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. โดยมี พล.ท. ธงชัย รอดย้อย รองเลขาธิการ กอ.รมน. เป็นประธาน. ที่ประชุมได้สรุปสถานการณ์ผู้หลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่อาศัยในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุและแรงจูงใจต่าง ๆ อาทิ การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดี การแสดงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า การหนีภัยจากการสู้รบ การหนีภัยจากการสู้รบจากประเทศต้นทาง การขาดแคลนแรงงานภายในประเทศ การเข้าไม่ถึงข้อมูลและกระบวนการหลายขึ้นตอนที่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย สภาพภูมิประเทศ สถานประกอบการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนมีใบอนุญาตประกอบการที่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้มีความต้องการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบในหลายมิติ อาทิ ทั้งด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อาทิ ประกอบด้วย การทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสกัดกั้น ผลักดันและส่งกลับบุคคลต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การส่งเสริมแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย การแสวงหาความร่วมมือกับนานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มแรงงานต่างด้าว การกำหนดจำนวนและขึ้นทะเบียนผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวให้มีความเหมาะสมชัดเจน โดยต้องการสร้างผลลัพธ์ Quick Win อาทิ ปริมาณแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายเพิ่มมากขึ้น เป้าหมายเริ่มต้นที่จังหวัดที่มีจำนวนแรงงานต่างด้าวขนาดใหญ่ แรงงานต่างด้าวมีประกันสังคม/ประกันสุขภาพ ผู้ติดตามมีประกันสุขภาพ จัดการศึกษา/ฝึกอบรมสายอาชีพ ใช้ระบบธนาคารในการเบิกจ่ายค่าแรง และการสร้างผลลัพธ์ Medium – Long term อาทิ ปริมาณแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ สัดส่วนที่เหมาะสมของแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว สัดส่วนที่เหมาะสมของแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม และได้ขอหารือข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มท. ที่ประชุมได้สอบถามกรณีการนำผู้หนีภัยจากการสู้รบและกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภัยการสู้รบเข้าสู่ระบบแรงงาน ทั้งนี้ ผู้แทน มท. ได้ชี้แจงว่า ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากเป็นไปตามนโยบาย สมช. ในการให้ผู้หนีภัยการสู้รบเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามหรือส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับมาตุภูมิโดยสมัครใจ ทั้งนี้ หากต้องการให้ผู้หนีภัยการสู้รบสามารถทำงานได้ต้องผ่านมติสภา มช. และออกเป็นมติ ครม. ซึ่งผู้แทน สมช. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีการให้ผู้หนีภัยการสู้รบเข้าสู่ระบบแรงงานได้มีการหารือแต่ยังไม่ได้ข้อยุติ และควรนำประเด็นกลุ่มผู้หนีภัยการสู้รบออกเนื่องจากมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจนอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ประธานในที่ประชุมได้สั่งการให้ฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป