44221.jpg

วันจันทร์ที่ 10 ก.ค. 2566 เวลา 09.00 น. ร.ต.สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. มอบหมายให้ นายณัฐพล อุดมเมฆ นวท.ปก. / หัวหน้าคณะทำงาน SDGs และนายกฤตยญ์ เมฆช้าง พนักงานประจำสำนักงาน เข้าร่วมการประชุมเพื่อคัดเลือกเมืองนำร่องในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำและเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ (Urban Act Project) ในประเทศไทย โดยมีคุณ ไฮน์ริช กูเดนุส ผอ.โครงการ Urban Act กล่าวเปิดการประชุม ทั้งนี้ มีผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วม ได้แก่ ตท.สป. ยผ. อต. สนข. สผ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ GIZ ณ ห้องประชุมอโศก ชั้น 4 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ

การประชุมตามข้างต้น มีวัตถุประสงค์ 3 หัวข้อ
1. เพื่อชี้แจงเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกเมืองนำร่อง
2. หารือและร่วมกันคัดเลือกเมืองนำร่องที่มีความเหมาะสมตามเกณฑ์การคัดเลือกที่ได้เสนอ
3. หารือแนวทางการสนับสนุนทางวิชาการในการขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยการหารือได้เสนอรายชื่อเมืองเพื่อร่วมกันพิจารณา แบ่งออกเป็น 4 ภาค ได้แก่

1.ภาคเหนือ
- เทศบาลนครเชียงใหม่
- เทศบาลนครพิษณุโลก
- เทศบาลนครสวรรค์

2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เทศบาลนครอุดรธานี
- เทศบาลนครขอนแก่น
- เทศบาลนครราชสีมา

3.ภาคกลางและภาคตะวันออก
- เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
- เทศบาลเมืองชลบุรี
- เทศบาลนครระยอง
- สมุทรปราการ

4.ภาคใต้
- เทศบาลนครศรีธรรมราช
- เทศบาลนครภูเก็ต
- เทศบาลนครหาดใหญ่

เกณฑ์การคัดเลือกและรายชื่อเมืองเพื่อเสนอให้พิจารณาสำหรับการคัดเลือกเมืองนำร่อง มีเกณฑ์การคัดเลือกเมืองนำร่อง ประกอบด้วย
1.บริบทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
2.ลักษณะทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์ของพื้นที่เมือง (Characteristics)
3.ความเสี่ยง/ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Potential)
4.ศักยภาพของเมืองในการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ (Mitigation Potential)
5.ความสนใจ/ความสอดคล้องกับแผนงานของ ยผ.
6.ความสนใจ/ความสอดคล้องกับแผนงานของหน่วยงานร่วมดำเนินการ (สป.มท. อต. สผ. สนข.)
7.อื่นๆ เช่น (Political Commitment, ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่เป็นต้น)

ทั้งนี้ ผู้แทน มท. และผู้แทน ยผ. ให้ข้อคิดเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเมืองนำร่อง ตามข้อ 3 และข้อ 4 โดยให้เน้นศักยภาพของเมืองในการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ (Mitigation Potential) และความเสี่ยง/ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Potential) ต่อไป
โดยช่วงท้าย หน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมได้มีการโหวตคัดเลือกเมืองนำร่องได้ 4 จังหวัด ดังนี้ 1.ภูเก็ต (7 เสียง) 2.ขอนแก่น (5 เสียง) 3.เชียงใหม่ (4 เสียง) และ4.พิษณุโลก (3 เสียง)

44220.jpg

44223.jpg