17801608203744.jpg

14 มี.ค. 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ร.ต. สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. พร้อมด้วย นางอุมามาศ ฉวีวรรณ ผอ.กพบ.ตท.สป. และเจ้าหน้าที่ ตท.สป. จำนวน 3 ราย ประชุมหารือร่วมกับ ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผอ.กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และเจ้าหน้าที่ สศช. จำนวน 3 ราย ในประเด็นการขับเคลื่อน SDGs ในเชิงพื้นที่ (SDG Localization) และประเด็นที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ณ ห้องประชุมกองการต่างประเทศ สป.

ในที่ประชุมตามข้างต้น มีประเด็นสารัตถะที่สำคัญ สามารถสรุปได้ ดังนี้

ผอ.ตท.สป. ชี้แจงการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs และประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ดังนี้
1. อธิบายงานตามภารกิจในภาพรวมของ มท. ภารกิจ ตท.สป. และกรอบการขับเคลื่อน SDGs ในส่วนของ มท.
2. ชี้แจงการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs ของ มท. ภายใต้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ในเป้าหมายหลัก 1 และ 11
3. ชี้แจงการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs ในส่วนของ มท. ในห้วงที่ผ่านมา รวมถึงการดำเนินงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา ได้แก่ UN และ GIZ เป็นต้น
4. ชี้แจงโครงการขับเคลื่อน SDGs ในเชิงพื้นที่ (SDG Localization) ในพื้นที่นำร่อง 15 จังหวัด ร่วมกับ UNDP ในกระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวเนื่อง
5. ข้อเสนอแนะ ต่อ สศช. ในการปรับปรุงกลไกการดำเนินการของ สศช. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย

- เพิ่มหุ้นส่วนการพัฒนา 7 ภาคีเครือข่าย (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคสื่อสารมวลชน) เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้มากขึ้น
- ควรมีระบบและกลไกการตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs ระดับพื้นที่ และฐานข้อมูลกลาง (Big data) ในส่วนกลาง โดย สศช. เป็นหน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานระดับกระทรวงอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานระดับกระทรวง ให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง และสอดคล้องกัน รวมทั้งโครงการตามมาตรการพิเศษของรัฐบาลและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วย
- ในประเด็นการขับเคลื่อน SDGs เชิงพื้นที่ สศช. ควรจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะทำงานขึ้นมา โดยเป็นส่วนในการสร้างกลไก แนวปฏิบัติ และอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อน SDGs เชิงพื้นที่ให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ในการนี้ผู้แทน สศช. ได้เห็นพ้องตามแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ในส่วนของ มท. ที่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม และจังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อน SDGs เชิงพื้นที่ ที่ได้ดำเนินการร่วมกับ UNDP โดยมีข้อห่วงกังวลถึงกระบวนการดำเนินการที่อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นรูปธรรมมากนัก ทั้งนี้ สามารถนำกระบวนการดำเนินงาน SDGs เชิงพื้นที่ ที่ มท. ดำเนินการร่วมกับ UNDP มาดำเนินการร่วมกับแนวทางของ กพย. เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมตามแนวทางของ กพย. ต่อไปได้

17801608464898.jpg

17801608299473.jpg

17801608384553.jpg

17801772112425.jpg