S__6193193.jpg

วันนี้ (22 ส.ค.2566) เวลา 13.30 -16.00 น. ร.ต. สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. มอบหมายให้ นางอมราภรณ์ ทรงอาวุธ หน.ฝ.บห. เข้าร่วมประชุมคณะทำงาน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 2 / 2566 ณ ห้องประชุมราชบพิตร ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุภาพสรณ์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีนายสมคิด จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมาไทย เป็นประธานสรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
1. สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ประกาศผลคะแนน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้คะแนน 92.43 อยู่ในระดับ “ผ่าน”
2. การประชุมในครั้งนี้จะมีการทบทวนและการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นตามข้อเสนอแนะของผลการประเมิน ITA ในปีงบประมาณพ.ศ. 2566 เพื่อพัฒนาและยกระดับคะแนนการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567
3. ประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่องการปรับระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Rating Score) โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบได้กำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดร้อยละของหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA ในปีงบประมาณ 2566 จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 จะต้องได้คะแนน 85 คะแนนขึ้นไป
4. สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดรายละเอียดของการเข้ารับการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจะต้องดำเนินการผ่านระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐโดยมีเครื่องมือการประเมินประกอบด้ว 3 เครื่องมือ ดังนี้
1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT)
2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT)
3) แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT)
5. ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้คะแนน 92.43 คะแนน อยู่ในระดับ “ผ่าน” ลดลงจากปีที่ผ่านมา 4.48 คะแนน (ปีงบประมาณ 2565 ได้คะแนน 96.91 คะแนน) ดังนี้
1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) ได้ 91.71 คะแนน
2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) ได้ 83.06 คะแนน
3) แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ได้ 100 คะแนน
ผลรวมคะแนน 92.43 คะแนน อยู่ในระดับ “ผ่าน”
6. จากการประชุมคณะทำงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมาไทยครั้งที่ 4/ 2565 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ผลการประเมินรายตัวชี้วัดตามข้อคำถามที่มีค่าคะแนนต่ำกว่า 95 คะแนนให้นำมากำหนดเป็นจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน เพื่อกำหนดแนวทาง/มาตรการให้หน่วยงานรับผิดชอบในการกำกับติดตามและรายงานผลการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประเมินของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ศปท.มท จึงได้จัดทำ(ร่าง) การวิเคราะห์ผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 มีการเก็บข้อมูลจากสามส่วน ดังนี้
ส่วนที่หนึ่งการเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (IIT) โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 5 ตัวชี้วัดได้แก่

-ตัวชี้วัดที่ 1 การปฎิบัติหน้าที่
I1-I3 คะแนน 92.85, 94.32, 94.85 ตามลำดับ คะแนนต่ำกว่า 95 คะแนน
แนวทาง
-ทบทวนคู่มือตามที่ให้บริการบุคคลภายนอกโดยให้หัวหน้าหน่วยงาน กำกับ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ ปฏิบัติตามภารกิจ ตามภารกิจดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
-เน้นที่กองการเจ้าหน้าที่ สป. และสันนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สป.

-ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ
I7-I10 คะแนน 84.03, 78.88, 91.40, 93.62 ตามลำดับ
แนวทาง
-การสื่อสารภายในหน่วยงานเพื่อให้บุคลากรภายในสังกัดทราบข้อมูลค่าใช้จ่าย รับรู้และเข้าใจ โดยจัดทำการประชาสัมพันธ์ผ่านของกองสารนิเทศ สป. หรือช่องทางออนไลน์ โดยเริ่มต้นกระบวนการคำของบประมาณสื่อสารให้ทราบถึงประโยชน์โครงการ/กิจกรรม ตามคำของบประมาณ ให้เน้นสื่อสารภายในหน่วยงาน
-เน้นที่สำนักนโยบายและแผน สป. และกองคลัง สป.

ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ
I13–I15 และI18 คะแนน 89.92, 90.46, 89.25 และ 92.56 ตามลำดับ
แนวทาง
-ให้หน่วยงานจัดทำมอบหมายแบ่งงานภายในสำนักกองเป็นคำสั่งภายใน
-กำหนดเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ
-ให้หัวหน้าหน่วยงานสื่อสารให้ทุกคนทราบและเข้าใจ
-ให้หน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกฯ และร่วมประชุมเพื่อลงมติเห็นชอบคัดเลือกฯ
-เน้นที่กองการเจ้าหน้าที่ สป.

ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ
I19-I21 และ I24 คะแนน 84.44, 82.17, 84.19 และ88.18 ตามลำดับ
แนวทาง
-การประชาสัมพันธ์
-จัดทำระบบจองรถออนไลน์
-ชี้แจงเหตุผลในกรณีไม่สามารถให้ยืมได้
-เน้นที่กองคลัง สป.

ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต
I25-I30 คะแนน 92.17, 88.60, 88.18, 89.52, 90.72 และ 92.97 ตามลำดับ
แนวทาง
-สรุปผลกรณี ตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับการทุจริตและประชาสัมพันธ์แนวทางการดำเนินงาน
-ศปท.มท. จัดทำมาตรการป้องกันการทุจริตเพื่อให้ผู้บริหารกำชับมอบเป็นนโยบายในการประชุม

ส่วนที่ 2 การเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (EIT) โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 3 ตัวชี้วัดโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบวัด EIT จำแนกออกเป็น 2 ส่วน
-ส่วนที่หนึ่งผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อราชการเข้าตอบด้วยตนเอง
- ส่วนที่ 2 ผู้ประเมินจัดเก็บข้อมูลโดยอาจเป็นผู้มารับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางใดทางหนึ่งกับภารกิจของหน่วยงาน

ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน
E1-E3 และE5 คะแนน EIT ทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 คะแนน ต่ำกว่า 95
แนวทาง
-ทุกงานบริการให้ระบุขั้นตอนระยะเวลาการให้บริการ
-ประชาสัมพันธ์โดยติดไว้ที่เคาน์เตอร์ให้บริการ
-จัดทำระบบในการรับฟังความคิดเห็น
-ดำเนินการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางกองสารนิเทศ สป.
-จัดคิวปกติและกรณีเร่งด่วน

ตัวชี้วัดที่ 7 แล้วสิทธิภาพการสื่อสาร
E6-E10 คะแนน EIT ทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 คะแนน ต่ำกว่า 95

แนวทาง
-ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆผ่านช่องทางที่หลากหลายและอำนวยความสะดวกในการเข้าใช้งาน
-ประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริต

ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน
E11-E15 คะแนน EIT ทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 คะแนน ต่ำกว่า 95

แนวทาง
-การประชาสัมพันธ์
-ให้สำนักกองทำแบบสอบถามออนไลน์โดยใช้ช่องทางรวมของ กระทรวงมหาดไทย
- สื่อสารลงเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ระดับจังหวัด ท้องถิ่น อำเภอ

ส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน (OIT)
-ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
-ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินได้ 100 คะแนน

S__6193197.jpg