49708_0.jpg

วันพฤหัสบดีที่ 10 ส.ค. 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ร.ต.สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. นางสาวภณิชชา ลิ่มสกุล นวท.ชก / จนท.ประสานงานด้าน สปป.ลาว และนายกฤตยชญ์ เมฆช้าง พนักงานประจำสำนักงาน /จนท.ประสานงานด้านกัมพูชา เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ "การอ้างสิทธิในไหล่ทวีปในอ่าวไทยระหว่างไทย - กัมพูชา" ณ ห้องศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ชั้น 5 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาฯ ประเด็นการสัมมนาฯ มีสารัตถะ ดังนี้

หัวข้อที่ 1. การเจรา Overlapping Claims Area (OCA) ในอดีตและปัจจุบัน โดยอธิบดีกรมสนธิฯ กต.
1. OCA เกิดจากประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของกัมพูชาในปี พ.ศ.2515 และการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของไทยในปี พ.ศ. 2516 ในปัจจุบัน OCA มีขนาดพื้นที่ประมาณ 26,000 ตร.กม. ทั้งนี้ มีกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 / (UNCLOS 1982) ในข้อที่ 83 การกำหนดขอบเขตของไหล่ทวีประหว่างรัฐที่มีฝั่งทะเลตรงข้ามหรือประชิดกัน
2. MOU ปี 2544 ข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปในอ่าวไทย โดยได้ดำเนินการทั้งสองส่วนไปด้วยกัน เช่น การเจรจาแบ่งเขตทางทะเล / เจรจาเพื่อพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน และข้อ 3 ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย - กัมพูชา เป็นกรอบการเจรจาหลัก
3. สถานะการเจรจาในปัจจุบัน ภายหลังที่ไทย - กัมพูชาได้มีการลงนาม MOU ปี 2544 อาทิเช่น
- ไทย - กัมพูชาได้มีการจัดประชุม JTC 2 ครั้ง / Sub -JTC 2 ครั้ง
- การหารือไม่เป็นทางการของประธาน JTC ฝ่ายไทยและกัมพูชา ไทย - กัมพูชา 4 ครั้ง
- การประชุมคณะทำงานร่วมไทย - กัมพูชาว่าด้วยการกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมทางทะเล 1 ครั้ง
- การประชุมคณะทำงานว่าด้วยระบอบพัฒนาร่วม 6 ครั้ง เป็นต้น

หัวข้อที่ 2 การระงับ ข้อพิพาทภายใต้ UNCLOS: กรณีศึกษาไทย - กัมพูชา โดยศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ อดีตศาตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้กล่าวการกำหนดเส้นฐานปกติ และเส้นฐานตรง ตาม UNCLOS และการกำหนดเส้นฐานของประเทศไทย โดยประกาศ นร. ในส่วนการกำหนดพื้นที่เส้นบานตรงของประเทศไทยกำหนดเส้นฐานตรงในบริเวณ 4 พื้นที่ และการระงับข้อพิพาทภายใต้ภาค 15 ของอนุสัญญาฯ กฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 (1) รับหลัการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี (2) รัฐภาคีมีอิสระเลือกวิธีข้อระงับข้อพิพาททางกฎหมายเอาไว้ คือ ศาลกฎหมายระหว่างประเทศ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น

หัวข้อที่ 3 ความท้ายทายและโอกาสในการนำทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยมาใช้ โดย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ผอ.สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงก๊าซธรรมชาติ เป็นทรัพยากรเชื้อเพลิงพลังงานที่จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในช่วงเวลาต่อไปไม่น้อยกว่า 30 ปี รวมทั้ง สภาพการณ์ของกิจการสำรวจ/ผลิตปิโตรเลียมของไทยในปัจจุบันและแนวทางแก้ไข/รักษา และผลลัพธ์และเป้าประสงค์ของการแก้ไขปัญหาเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในทะเล ระหว่างไทย - กัมพูชา เช่น
1. เพื่อให้เกิดกิจกรรมสำรวจผลิต เพิ่มแหล่งและปริมาณสำรองของแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ เกิดรายได้/เศรษฐกิจหมุนเวียน
2. จัดหาก๊าซะรรมชาติให้เพียงพอ/ต่อเนื่องสำหรับผลิตไฟฟ้า
3. นำทรัพยากรธรรมชาติให้เพียงพอ สร้างอุตสาหกรรต่อเนื่อง ความมั่นคงในการผลิต LPG และวัตถุดิบปิโตรเลียม
4. ส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีกับเพื่อนบ้านใน ASEAN เป็นต้น

หัวข้อที่ 4 มิติความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชาในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาแบ่งเขตทางทะเลในอ่าวไทย โดย รองศาตราจารย์ ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รอง ผอ.สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงเรื่องระบอบการเมืองของกัมพูชาของพรรค PCC /ในมุมมองเชิงประวัติศาสตร์ไทยที่มีผลต่อกัมพูชา และการแผ่อิทธิพลของจีนเกี่ยวเนื่องกับทะเลในอ่าวไทยโดยมีความสำคัญในการเชื่อมโยงทะเลในภมูิภาคอินโดแปฟิซิกระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

49709_0.jpg

49710_0.jpg

49711_0.jpg

49712_0.jpg