17259558485552.jpg

 

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธ.ค. 2565 นางวาสนา เตชะวิจิตรสาร ผอ.กอซ นายคมกริช ศิลาทอง นวท.ชก. นางศุทธภัค พันธุ์ภาไพ นวท.ชก. นางสาวภณิชชา ลิ่มสกุล นวท.ชก. และนายกวีวัฒน์ สุทธิชัยกุลนันท์ นวท.ปก. เข้าร่วมการประชุมการจัดการชายแดนและการระบุอัตลักษณ์ว่าด้วยความร่วมมือทางเทคนิคและการสร้างขีดความสามารถ ครั้งที่ ๖ ณ โรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ 2 ของการประชุม และมีการแบ่งการประชุมปฏิบัติการออกเป็น 2 ห้อง ในช่วงเช้า และช่วงบ่าย รวมเป็นจำนวน 4 การประชุมปฏิบัติการ ดังนี้
1.การบูรณาการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมการสำหรับการข้ามแดนของประชากรที่โยกย้ายถิ่นฐาน
2. การอำนวยความสะดวกในช่วงวิกฤต – บทบาทสำคัญของการจัดการชายแดนในการเตรียมพร้อมสำหรับการหยุดชะงักครั้งใหญ่
3. ข้อมูลบุคคลในช่วงการระบาดใหญ่: นวัตกรรมการแก้ปัญหาและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ “เอกสารเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันเพื่อการเดินทาง”
4. เหนือภัยคุกคามทางชีวภาพ: เสริมความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีชายแดนต่อการโจมตีทางไซเบอร์และการหยุดชะงักทางเทคนิค
ทั้งนี้ การประชุมปฏิบัติการที่ประชุมได้มีการนำเสนอประเด็น อาทิ แนวทางปฏิบัติของประเทศเอสโตเนียในการจัดการลงทะเบียนพิสูจน์อัตลักษณ์สำหรับการเข้าประเทศของชาวยูเครน ถอดบทเรียนการจัดการในช่วงโควิด - 19 และความขัดแย้งกับการเตรียมการสำหรับสถานการณ์ในอนาคต การถอดบทเรียนจากการงประเทศโรมาเนียสำหรับผู้อพยพชาวยูเครน การนำเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนมาใช้จัดการการข้ามแดน และแนวปฏิบัติเมื่อระบบสาธารณูปโภคที่ใช้งานไม่ได้เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ รวมทั้งประเด็นการอำนวยความสะดวกช่วงสถานการณ์วิกฤตในการใช้จัดการการโยกย้ายถิ่นฐานหรือการลงทะเบียนสำหรับผู้อพยพ การเน้นย้ำการกำหนดกระบวนการมาตรฐานประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง SOP และ One stop service ของแต่ละประเทศ และการประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านในการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน โดยคำนึงถึงถึงหลักการมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน และกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะสตรีและเด็ก

17259558517020.jpg

17259558576000.jpg

17259558543812.jpg

17259558624697.jpg

17259558598453.jpg

17259558643743.jpg