17492877703465.jpg

ร.ต. สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน มท. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจสอบภูมิประเทศแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ณ จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี จัดโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. ร่วมกับ สมช. ร่วมกับผู้แทนกรมเอเชียตะวันออก กต. และผู้แทน ผท.ทหาร บก.ทท. โดยมีนายทรงชัย ชัยปฏิยุทธ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. เป็นหัวหน้าคณะ

วันที่ 1 (18 ม.ค. 2566) มีรายละเอียดการลงพื้นที่ติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ ดังนี้

1) เวลา 10.30 - 12.00 น. คณะฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ บริเวณกลุ่มปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เพื่อติดตามประเด็นกรณีฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชามีความเห็นต่อที่ตั้งหลักเขตแดนที่ 23 และกรรมสิทธิ์ของกลุ่มปราสาทตาเมือนแตกต่างกัน โดยชุดสำรวจร่วมไทย - กัมพูชา ได้สำรวจสภาพและที่ตั้งของหลักเขตแดนที่ 23 ระหว่างเดือน ต.ค. - พ.ย. 2550 ผลการสำรวจทั้งสองฝ่ายมีความเห็นในการกำหนดที่ตั้งหลักเขตแดนที่ 23 แตกต่างกัน โดยหลักเขตแดนของทั้ง 2 ฝ่าย ห่างกันประมาน 800 ม. ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่ไม่ตรงกันมากกว่าค่ามาตรฐาน
แนวทางแก้ปัญหา: ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมในหลักเขตแดนที่มีความเห็นไม่ตรงกันของชุดสำรวจร่วม และรายงานตามลำดับขั้นจนถึงคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Boundary Committee: JBC) เพื่อพิจารณาที่ตั้งของหลักเขตแดนที่ 23 ต่อไป

2) เวลา 14.00 - 16.30 น. คณะฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ บริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เพื่อติดตามประเด็นด้านเขตแดนจากการรายงานผลของฝ่ายทหาร และฝ่ายความมั่นคง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปได้ 2 ประเด็นหลักๆ ได้แก่

(1) ประเด็นขั้นตอน กลไก การดำเนินการ ในกรณีที่อาจจะเป็นการละเมิด MoU 2543
(2) ประเด็นการขอใช้พื้นที่สำหรับสร้างด่านศุลการกรช่องจอมแห่งใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมในอนาคต

ในการนี้ ผอ.ตท.สป. ได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุม ดังนี้

- มท. สนับสนุนตามแนวทางที่จะไม่นำปัญหาเรื่องเขตแดนมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายแดน

- ในกรณีที่อาจจะเป็นการละเมิด MoU 2543 สามารถดำเนินการในหลายลักษณะตามลำดับขั้น ทั้งกลไกการประท้วงเพื่อรักษาสิทธิ์ และการนำประเด็นเข้าเจรจาในกลไกการประชุมทวิภาคี เช่น การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา เป็นต้น ทั้งนี้ มท. ยินดีที่จะเป็นหน่วยประสานงานหน่วยงานระดับพื้นที่ และระดับนโยบายต่อไป

- ชี้แจงแนวทางในการเปิดจุดผ่านแดนถาวร โดยการประกาศช่องทางศุลกากร และการประกาศช่องทางตรวจคนเข้าเมือง จะต้องอยู่ในพื้นที่เดี่ยวกันและมีความสอดคล้องกับประกาศจุดผ่านแดนถาวร

- กรณีความประสงค์ของพื้นที่สำหรับก่อสร้างด่านศุลกากรช่องจอมแห่งใหม่ จ.สุรินทร์ ควรจะทบทวนการเลือกพื้นที่ให้มีความเหมาะสม และสามารถดำเนินการได้สะดวกที่สุด โดยสามารถเลือกพื้นที่อื่นเป็นตัวเลือกที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่น้อยที่สุดได้ ในส่วนของ มท. ยินดีที่จะเป็นหน่วยงานในการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามความประสงค์ของจังหวัดต่อไป

อนึ่ง กพบ.ตท.สป. ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กิจกรรมย่อยการจัดคลินิกงานชายแดนเคลื่อนที่ โดยเจ้าหน้าที่ กพบ.ตท.สป. ได้แก่ นางอุมามาศ ฉวีวรรณ ผอ.กพบ.ตท.สป. น.ส.ภณิชชา ลิ่มสกุล นวท.ชก. นายณัฐพล อุดมเมฆ นวท.ปก. และน.ส.วิมลวรรณ เจียงวิลาวัณย์ นวท.ปก. ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าว ในวันที่ 17-21 ม.ค. 2566 ณ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ ได้ดำเนินโครงการร่วมกับโครงการฯ ของกระทรวงการต่างประเทศ ตามข้างต้น

โครงการฯ การจัดคลินิกงานชายแดนเคลื่อนที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทาง หลักเกณฑ์ การปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน ตลอดจนรับทราบ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

17492877056960.jpg

17492877217448.jpg

17492878919696.jpg

17492878817232.jpg

17492876761170.jpg

17492879328085.jpg