495346.jpg

 ร.ต. สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน มท. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจสอบภูมิประเทศแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ณ จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี จัดโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. ร่วมกับ สมช. ร่วมกับผู้แทนกรมเอเชียตะวันออก กต. และผู้แทน ผท.ทหาร บก.ทท. โดยมีนายทรงชัย ชัยปฏิยุทธ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. เป็นหัวหน้าคณะ

วันที่ 2 (19 ม.ค. 2566) มีรายละเอียดการลงพื้นที่ติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ ดังนี้

1) เวลา 09.30 - 12.00 น. คณะฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ บริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ โดยเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลและความประสงค์ ของพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ ได้แก่
- รายงานแนวทางและมาตรการในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในช่วงหลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( Covid-19)
- รายงานภารกิจการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ในเขตรับผิดชอบ และภารกิจการซ่อมแซมแหลักเขตแดนที่ 1
- ความประสงค์ของพื้นที่ในการขอขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำจากเวลา 07.00 - 20.00 น. เป็น 07.00 - 22.00 น.
- สอบถามขั้นตอน และกลไกในการประท้วงกรณีที่อาจเป็นการละเมิด MoU 2543 และมีกระบวนการที่เข้มข้นมากขึ้นในการประท้วงได้อย่างไรบ้าง

ในการนี้ ผอ.ตท.สป. ได้ชี้แจงโครงการ "คลินิกชายแดน" ภารกิจของ มท. และข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการดำเนินการในพื้นที่ชายแดน ได้แก่
- การประสานงานในการเปิด ระงับ หรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ
- การกำหนดแนวทางในการใช้เอกสารในการข้ามแดนประเภทต่าง ๆ
- การอนุญาตให้บุคคลอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
- ในประเด็นการขอขยายเวลาในกานเปิดจุดผ่านแดนถาวร ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เตรียมความพร้อมบุคลากร/อุปกรณ์/งบประมาน/การบริหารจัดการ และประเด็นที่เกี่ยวข้องให้พร้อมก่อนเสนอข้อมูลให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
- กลไกและความเข้มข้นของการประท้วงของพื้นที่ เริ่มตั้งแต่การประท้วงด้วยวาจา การประท้วงโดยการทำหนังสือ การนำประเด็นเข้าหารือในกลไกการประชุมทวิภาคีต่าง ๆ และการนำประเด็นเข้าหารือในระดับผู้บริหารระดับสูง โดยการประท้วงสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ กาายึดหลักเกณฑ์การละเมิด MoU 2543 และการละเมิดอธิปไตยของชาติ

2) เวลา 13.00 - 15.00 น. คณะฯ ได้เดินทางไปยัง กกล.สุรนารี เพื่อรับฟังการบรรยายสรุป ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ การปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยผู้แทน กกล.สุรนารี

3) เวลา 15.00 - 18.00 น. . คณะฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร และจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางขึ้นเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

- ข้อมูลแนวทางการปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ให้ห้วงเวลาที่ผ่านมา
- ความประสงค์ของพื้นที่ในการขอเปิดเส้นทางเชื่อมโยงไปยังปราสาทเขาพระวิหาร เพื่ออำนวยความสะดวกในภาคการท่องเที่ยวในอนาคต และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
- แนวทางการประท้วงกรณีที่อาจเป็นการละเมิด MoU 2543 และการละเมิดอธิปไตยของชาติ

ผอ.ตท.สป. ได้ชี้แจงโครงการ "คลินิกชายแดน" และข้อเสนอแนะกรณีตามข้างต้น ดังนี้
- กรณีการขอเปิดเส้นทางขึ้นเขาพระวิหารขอให้หน่วยงานท้องที่ประสานงานกับหน่วยงานระดับท้องที่ของฝ่ายกัมพูชาให้มีความชัดเจน โดย มท.ยินดีทีาจะสนับสนุนความประสงค์ของหน่วยงานในพื้นที่ในระดับนโยบาย

495347.jpg

495345.jpg

495341.jpg

495340.jpg

495357.jpg

495355.jpg

495352.jpg

495353.jpg

495364.jpg

495362.jpg