496470.jpg

ร.ต. สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน มท. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจสอบภูมิประเทศแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ณ จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี จัดโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. ร่วมกับ สมช. ร่วมกับผู้แทนกรมเอเชียตะวันออก กต. และผู้แทน ผท.ทหาร บก.ทท. โดยมีนายทรงชัย ชัยปฏิยุทธ รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. เป็นหัวหน้าคณะฯ

วันที่ 3 (20 ม.ค. 2566) มีรายละเอียดการลงพื้นที่ติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ ดังนี้

1) เวลา 09.00 - 11.00 น. คณะฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเด็นเขตแดนและตรวจภูมิประเทศ บริเวณจุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้า อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี โดยเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ให้ข้อมูล ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและความประสงค์ของพื้นที่ ได้แก่

- รายงานผลการดำเนินการจุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้า
- รายงานปัญหาความไม่ชัดเจนด้านเขตแดนในพื้นที่จุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้า การแก้ปัญหา และอุปสรรคในห้วงที่ผ่านมา
- ความประสงค์ของพื้นที่ในการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรช่องอานม้า

2) เวลา 14.00 - 16.00 น. คณะฯ ได้เดินทางไปยัง ศาลากลาง จ.อุบลราชธานี เพื่อรับฟังการบรรยายสรุป ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ การปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยมีนางทรงลักษณ์ วรภัย รอง ผวจ.อุบลราชธานี และหัวหน้าส่วนราชการของ จ.อุบลราชธานี ให้การต้อนรับ

ประเด็นที่สำคัญในการนำเสนอข้อมูลของผู้บริหาร จ.อุบลราชธานี มีดังนี้
- ประเด็นพื้นที่ทับซ้อนและปัญหาเขตแดนที่ไม่ชัดเจนในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งทางจังหวัดใช้ความพยายามในการเจรจาพูดคุยเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีของทั้ง 2 ประเทศตามแนวชายแดนตลอดมา
- ประเด็นการยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้าเป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยส่วนราชการในพื้นที่เสนอให้ดำเนินการแก้ปัญหาในส่วนที่ยังไม่ชัดเจนให้เรียบร้อยก่อน อาทิเช่น การย้ายชุมชนกัมพูชา ที่คาดว่าจะรุกล้ำแนวสันปันน้ำเข้ามาในฝ่ายไทย การแก้ปัญหากรณีการสร้างอนุสาวรีย์ตาโอม ซึ่งอาจเป็นการละเมิด MoU 2543 การเร่งเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ยังตกค้างในพื้นที่ การวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น โดยจำเป็นจะต้องคำนึงถึงประเด็นความมั่นคงเป็นอันดับแรก
- ประเด็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนในเขตแดนในพื้นที่ที่มีกรณีพิพาท ทำให้ไม่สามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดประเด็นพิพาทได้

ในการนี้ ผอ.ตท.สป. ได้ชี้แจงโครงการ "คลินิกชายแดน" ภารกิจของ มท. และข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการดำเนินการในพื้นที่ชายแดน ได้แก่
- การประสานงานในการเปิด ระงับ หรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ
- การกำหนดแนวทางในการใช้เอกสารในการข้ามแดนประเภทต่าง ๆ
- การอนุญาตให้บุคคลอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
- ในประเด็นการยกระดับจุดผ่านแดนถาวรช่องอานม้าขอให้จังหสัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบ ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และผลกระทบด้านความมั่นคง เพื่อให้หน่วยงานในระดับนโยบายได้นำไปพิจารณาในเชิงลึกต่อไป

- กลไกและความเข้มข้นของการประท้วงของพื้นที่ เริ่มตั้งแต่การประท้วงด้วยวาจา การประท้วงโดยการทำหนังสือ การนำประเด็นเข้าหารือในกลไกการประชุมทวิภาคีต่าง ๆ โดยกลไกที่ มท. รับผิดชอบ ที่เกี่ยวข้องกับ จ.อุบลราชธานี ได้แก่ การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา และการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าแขวงไทย - ลาว รวมถึงการนำประเด็นเข้าหารือในระดับผู้นำประเทศ โดยการประท้วงสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ กาายึดหลักเกณฑ์การละเมิด MoU 2543 และการยึดหลักการละเมิดอธิปไตยของชาติ

- จังหวัดสามารถสรุปผลการติดตามความคืบหน้ากรณีพิพาท ในแต่ละกรณี และจำนวนข้อพิพาทในภาพรวม เพื่อให้หน่วยงานส่วนกลางได้สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อนึ่ง นางอุมามาศ ฉวีวรรณ ผอ.กพบ.ตท.สป. น.ส.ภณิชชา ลิ่มสกุล นวท.ชก. นายณัฐพล อุดมเมฆ นวท.ปก. และน.ส.วิมลวรรณ เจียงวิลาวัณย์ นวท.ปก. ได้ดำเนินโครงการ "คลีนิคชายแดน" เพื่อให้ ขรก.และบุคลากร ตท.สป. เดินทางไปร่วมกับคณะ ของ สมช.และ กต. ในการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการ โดยไปรับทราบปัญหา ปรึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล ข้อเสนอแนะ หากสามารถแก้ไขได้ หรือ ประสานส่งต่อได้ ก็ให้ดำเนินการในระหว่างเข้าร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว เพื่อจะได้ตอบโจทย์ และแก้ไขปัญหา ได้เสมือนกับคนไข้ มาหาหมอ และรับยา พร้อมทั้งให้คำแนะนำ หรือ ส่งต่อให้หมอสาขาอื่น ที่เกี่ยวข้อง โดยรับทราบข้อมูล ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ช่องอานม้า อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี และผู้บริหารของ จ.อุบลราชธานี เพื่อกำหนดมาตรการดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ต่อไป

496474.jpg

496473.jpg

496475.jpg

496482.jpg

496478.jpg

496480.jpg

496529.jpg