500765.jpg

นางอุมามาศ ฉวีวรรณ ผอ.กพบ.ตท.สป. พร้อมด้วย นายณัฐพล อุดมเมฆ นวท.ปก. ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการดำเนินการตามผลการประชุม GBC ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15 ของกลไกความร่วมมือภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือชายแดนปี 2538 ณ ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ คลับ แอนท์ โฮเทล จ.ปทุมธานี จัดโดย กรมกิจการชายแดนทหาร

25 ม.ค. 2566 มีประเด็นสัมมนาฯ ดังนี้

1.แนวทางการจัดทำเอกสารผลลัพธ์ระหว่างประเทศ บรรยายโดยนายคมกริช จองบุญวัฒนา หัวหน้าฝ่ายกัมพูชา กรมเอเชียตะวันออก กต.
มีประเด็นสารัตถะโดยสังเขป ดังนี้

ขั้นตอนการจัดทำเอกสารผลลัพธ์ฯ
1) กำหนดประเด็น หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2) จัดทำร่างเอกสารฯ
3) ส่งร่างเอกสารฯ ให้ฝ่ายกัมพูชา พิจารณาก่อนการประชุม
4) เสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบร่างเอกสาร
5) เจรจาร่างสุดท้ายในการประชุม
6) ลงนามย่อในเอกสาร
7) เสนอ ครม. เพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุม

2. ผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 15 (General Border Committee: GBC-15) และการดำเนินงานภายใต้กลไก GBCไทย - กัมพูชา บรรยายโดยวิทยากรจาก ชด.ทหาร
มีประเด็นสารัตถะโดยสังเขป ดังนี้

ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือชายแดนปี 2538 ลงวันที่ 29 ก.ย. 2538 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ เสริมสร้างเสถียรภาพและคว่มมั่นคงในพื้นที่ตามแนวชายแดน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ รัฐบาลของทั้งสองประเทศจะพิจารณาและปฏิบัติมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วยกลไก

1) คณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา (General Border Committee: GBC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เป็นกลไกกำหนดนโยบาย
2) คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบีเวณชายแดนไทย - กัมพูชา (Border Peace Keeping Committee: BPKC) ผบ.สส. ของทั้ง 2 ประเทศเป็นประธานร่วม เป็นกลไกนำนโยบายสู่แนวทางการปฏิบัติ กำกับดูแลและพิจารณาข้อเสนอของกลไกระดับภูมิภาค
3) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย - กัมพูชา (Regional Border Committee: RBC) มี 3 ด้านเป็นกลไกระดับภูมิภาคที่นำแนวทางการปฏิบัติจาก BPKC มาดำเนินการ

กลไก GBC จัดการประชุมร่วมกันปีละ 1 ครั้งโดยสลับกันเป็นเจ้าภาพมีวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการได้พบปะหารือแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ใยพื้นที่ชายแดน ส่งเสริมความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างให้มีการสร้างให้มีการพัฒนาให้เกิดความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ โดยที่ผ่านมาได้จัดการประชุมแล้ว 15 ครั้ง

3. หลักการในการเจรจาต่อรอง (Principles of Negotiation)
บรรยายโดยวิทยากรจาก ชด.ทหาร
มีประเด็นสารัตถะโดยสังเขป ดังนี้

- การเจรจาต่อรองไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะ หรือทำให้อีกฝ่ายพ่ายแพ้ แต่เป็นเรื่องที่คู่เจรจาทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้รับบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่าสำหรับตน

- การเจรจาต่อรองที่ประสบความสำเร็จ ต้องใช้ทักษะเชิงสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) หลาย ๆ อย่าง เช่น ความอดทนอดกลั้น ความสุขุมคัมภีรภาพ การเป็นผู้ฟังที่ดี ความเข้าอกเข้าใจ ความยืดหยุ่น และความไว้วางใจกัน

- การเจรจาต่อรองต้องรู้จักหลบหลีกอุปสรรค (Zig and Zag) เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทาง รู้จักยืดหยุ่น ปรับความเหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ

500564.jpg

500764.jpg

500767.jpg

500766.jpg

500768.jpg

500563.jpg